วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ก.ค.ศ.อนุมัติครู-ผู้บริหาร-ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 19 ราย

นายธนัท ไชยทิพย์
โรงเรียนมัญจาศึกษา
จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาธิการ ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 โดยมีนายสุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย ได้แก่ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ 4 ราย รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ 1 ราย ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 1 ราย และครูเชี่ยวชาญ 13 ราย ดังนี้


หลักเกณฑ์ฯ ว 17/2552 เลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 4 ราย ดังนี้

1) เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 2 ราย ได้แก่ 
- นางมลิวรรณ เขจรศาสตร์ โรงเรียนคำโพนทองบริบูรณ์ราษฎร์บำรุง สพป. กาฬสินธุ์ เขต 3
- นางชุติกาญจน์ ทองพานิช โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก สพป. สระบุรี เขต 2

2) เลื่อนเป็นวิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ 
- นางสาวศิริ แคนสา จังหวัดชัยภูมิ สพม. เขต 30

3) เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่
- นายธนัท ไชยทิพย์ โรงเรียนมัญจาศึกษา จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25

  หลักเกณฑ์ฯ ว 13/2556 เลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 15 ราย ดังนี้

1) เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 11 ราย ได้แก่
- นางสาวประทีป ใจมงคล โรงเรียนบ้านบัวชุม สพป. ลพบุรี เขต 2
- นางขวัญยืน เรืองรัตนภูมิ โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรัง สพป. กาญจนบุรี เขต 4
- นางปณัฏฐา ศรเดช โรงเรียนอนุบาลระยอง สพป. ระยอง เขต 1
- นางอนุช พลลาภ โรงเรียนมหาสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม สพม. เขต 26
- นางเรวดี บุญแย้ม โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร สพม. เขต ๑
- นางจินตนา เทอดศักดิ์เดชา โรงเรียนชุมชนบ้านจอก (คอนสวรรค์วิทยากร) สพป. ชัยภูมิ เขต ๑
- นางนพรัตน์ อินทโลหิต โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์ (เขากบ วิวรณ์สุขวิทยา) สพป. นครสวรรค์ เขต 1
- นางสาวอาพร มะสุทธิ โรงเรียนชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157 สพป. ลพบุรี เขต 2
- นางณัฐชนา ลาวัณยกุล โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- นางระเบียบ สุจิตตกุล โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคม สพป. กาฬสินธุ์ เขต 2
- นางละออง ล่องแก้ว โรงเรียนบ้านเขากอบ สพป. ตรัง เขต 2

2) เลื่อนเป็นวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ 
- ร.ต. ประชา พรชัยกุล โรงเรียนวังจันทร์ จังหวัดระยอง สพม. เขต 18

3) เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย ได้แก่ 
- นายคมสรณ์ นิธิปรีชา โรงเรียนบ้านโป่งแดงน้ำฉ่าสามัคคี สพป. นครราชสีมา เขต 5,
- นายสัญชัย ขวัญมา โรงเรียนบ้านยางวิทยา สพป. นครราชสีมา เขต 7
- นายภูริต คันธชุมภู โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง สพม. เขต 35

เผยรายชื่อพระ-เณรสอบได้เปรียญ 9 - ผู้หญิงเก่งซิวบาลีศึกษา 9

ข้อมูล : นสพ.ข่าวสด


28 มี.ค.2559 : ณ ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง จัดตรวจผลสอบประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี พ.ศ.2559 ตั้งแต่ระดับ ประโยค 1-2 ถึงระดับ ป.ธ.9 และประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงอย่างเป็นทางการ โดยมีพระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นประธาน

บรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก มีพระภิกษุและสามเณรจากวัดต่างๆ รวมไปถึงญาติพี่น้องและคณะศิษยานุศิษย์ เดินทางมาร่วมรอรับฟังผลสอบด้วยใจระทึกเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว

จนกระทั่ง คณะกรรมการตรวจผลสอบประโยคบาลีสนามหลวง ได้ตรวจทานความถูกต้องจนเสร็จเรียบร้อย พระพรหมโมลี ประกอบพิธีสวดมนต์

ต่อจากนั้น พระพรหมดิลก รองเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง กล่าวรายงานจำนวนสถิติผู้เข้าสอบเปรียญธรรมต่อแม่กองบาลีสนามหลวงว่าปีนี้มีพระภิกษุ-สามเณร สอบได้ประโยคบาลีสนามหลวง ป.ธ.9 จำนวน 44 รูป มีสามเณรที่สอบได้ ป.ธ.9 จำนวนทั้งสิ้น 7 รูป มีวัดหรือสำนักเรียนที่มีพระภิกษุ-สามเณร สอบได้ ป.ธ.9 มากที่สุด มี 3 วัด สอบได้ 3 รูป คือ วัดสร้อยทอง, วัดสามพระยา และวัดจองคำ จ.ลำปาง

สำหรับรายชื่อผู้สอบประโยคบาลี สนามหลวง ป.ธ.9 ประจำปี 2559 มีดังนี้

1.พระมหานักรบ อรินทโม วัดเทพลีลา
2.พระมหากฤษดา กิตติสัจโจ วัดเทพลีลา
3.พระมหาชินวัฒน์ ปภัสสโร วัดบพิตรพิมุข
4.พระมหาสายชล อัคคธัมโม วัดเทวราชกุญชร
5.พระจักริน ป. รตนวโร วัดปทุมวนาราม
6.พระมหาพงษ์ทวี กิตติภัทโท วัดพรหมวงศาราม
7.พระมหาเอื้อ ปริปุณโณ วัดอภัยทายาราม
8.พระมหาศรชัย ธัมมิโกภาโส วัดศรีเอี่ยม
9.พระมหาสมพงษ์ กิตติภัทโท วัดสร้อยทอง
10.พระมหาสมชาย เขมานันโท วัดสร้อยทอง

11.สามเณรนฤเบศ สิขะโต วัดสร้อยทอง
12.พระมหาธวัชชัย สิริธโช วัดสระเกศ
13.พระมหาชูศักดิ์ ธัมมสโร วัดสามพระยา
14.พระมหาอรรถพล ปัญญาโชติ วัดสามพระยา
15.สามเณรกวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์ วัดสามพระยา
16.พระมหาบุญส่ง วรวีโร วัดสุทัศนเทพวราราม
17.พระมหาจุลพล สารทัสสี วัดสุทัศนเทพวราราม
18.พระมหาวรจักษ์ วรจักกวัฑฒโน วัดเสมียนนารี
19.พระมหาวิลัย วรกวินโท วัดหัวลำโพง
20.พระมหากิตติศักดิ์ จัตตมโล วัดบางนานอก

21.พระมหาวิทยา ชยวุฑโฒ วัดทองธรรมชาติ
22.พระมหาสายฝน มณิโชติ วัดปากน้ำ
23.พระมหาเอกชัย เอกัญชโย วัดปากน้ำ
24.พระมหาชาตรี ธัมมัฏฐิติ วัดจันทาราม
25.พระมหาทัศพล คันธวโร วัดโมลีโลกยาราม
26.พระมหาจตุภูมิ ภูมิเวที วัดโมลีโลกยาราม
27.พระมหาเอกชัย อาภาธโร วัดอรุณราชวราราม
28.พระมหาศุภณัฐ จันทชโย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
29.พระมหากฤษดา โอภาโส วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ
30.พระมหาทรงชัย อัคคปัญโญ วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ

31.สามเณรทองสุข พรหมมีเดช วัดพิพัฒน์มงคล จ.สุโขทัย
32.สามเณรสมยศ ดาทอง วัดจองคำ จ.ลำปาง
33.สามเณรรัฐพล อักษรพิมพ์ วัดจองคำ จ.ลำปาง
34.สามเณรฤทธิรงค์ เสนาน้อย วัดจองคำ จ.ลำปาง
35.พระมหาวรวัฒน์ วรวัฑฒโน วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
36.พระมหาธนิต ธนิโต วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
37.พระมหาสิทธิชัย เตชวัณโณ วัดชัยมงคล จ.เชียงใหม่
38.พระมหาคัมภีร์ ภูริวัฑฒโน วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่
39.สามเณรธนธรณ์ คูสูงเนิน วัดไวกูลฐาราม จ.อุดรธานี
40.พระมหาประทวน อาภัสสโร วัดสายทอง หนองบัวลำภู

41.พระมหาวิทวัฒน์ วิวัฑฒนเมธี วัดสว่างหัวนาคำ จ.กาฬสินธุ์
42.พระมหาสิงหา อาภัส   สโร วัดชัยมงคล จ.ชลบุรี
43.พระมหาอมรเทพ วรธัมโม วัดทับไทร จ.จันทบุรี
44.พระมหาบดินทร์ ญาณาวุโธ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี

นอกจากนี้ ยังมีผู้สอบประโยคบาลีศึกษา 9 (บ.ศ.9)ได้ด้วย จำนวน 1 คน จากผู้เข้าสอบ 3 คน ได้แก่ น.ส.สิรินุช บุสโร อายุ 41 ปี สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

สำหรับสามเณรที่สอบได้ ป.ธ.9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์


ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีสนามหลวงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2558 มีสถิติที่น่าสนใจ คือ

ป.ธ.9 มีผู้เข้าสอบ 348 รูป สอบได้ 44 รูป
ป.ธ.8 มีผู้เข้าสอบ 397 รูป สอบได้ 34 รูป
ป.ธ.7 มีผู้เข้าสอบ 545 รูป สอบได้ 142 รูป
ป.ธ.6 มีผู้เข้าสอบ 552 รูป สอบได้ 232 รูป
ป.ธ.5 มีผู้เข้าสอบ 1,011 รูป สอบได้ 324 รูป
ป.ธ.4 มีผู้เข้าสอบ 1,801 รูป สอบได้ 484 รูป
ป.ธ.3 มีผู้เข้าสอบ 4,039 รูป สอบได้ 308 รูป
และ ป.ธ.1-2 มี  ผู้เข้าสอบ 14,293 รูป สอบได้ 1,187 รูป
รวมผู้เข้าสอบ 22,986 รูป สอบได้ 2,755 รูป

ศธ.ออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 406/2559 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 77 ราย ดังนี้

นายสมยศ ศิริบรรณ
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
1) ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ สาโร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกระบี่
2) นายสมยศ ศิริบรรณ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
3) นายอนันต์ กัลปะ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี
4) นายกิตติพศ พลพิลา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์
5) นายรมย์ พะโยม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดกำแพงเพชร
6) นายเชิดศักดิ์ ศรีสง่าชัย ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น
7) นายมนตรี ทัดเทียม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี
8) นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา
9) นายวสันต์ นาวเหนียว ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
10) นางสาวศศิธร วงษ์เมตตา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท
11) นายธนชน มุทาพร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ
12) นายวัลลพ สงวนนาม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร
13) นายนพรัตน์ อู่ทอง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
14) นายทวนทอง ศรีสวัสดิ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
15) นายฉลอง พูลสุทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดตรัง
16) นายวัลลภ รองพล ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดตราด
17) นายสมวุฒิ ศรีอำไพ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดตาก
18) นายไพจิต ไชยฤทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครนายก
19) นายอธิวัฒน์ พันธ์ประชา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม
20) นายเพิ่มพูน พงษ์พวงเพชร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครพนม
21) นายไพศาล วุฑฒิลานนท์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา
22) นายประหยัด อนุศิลป์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
23) นายเพชรรัตน์ นิ่มพันธุ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
24) นายกำจัด คงหนู ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี
25) นายประหยัด สุขขี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส
26) นายชูเกียรติ ด่านธนะทรัพย์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดน่าน
27) นายสุพจน์ เจียมใจ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์
28) นายพัฒนะ งามสูงเนิน ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี
29) นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
30) นายดำเนิน เพียรค้า ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดปราจีนบุรี
31) นายอรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี
32) นายอารักษ์ พัฒนถาวร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
33) นายเอกชัย ผาบไชย ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา
34) นายสุรพันธ์ โกยวาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพังงา
35) นายเจียร ทองนุ่น ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง
36) นายพงษ์ชัย ไทยวรรณศรี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร
37) นายวิวัฒน์ อ้นน่วม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก
38) นายกนก ปิ่นตบแต่ง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบุรี
39) นายธวัช กงเดิม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์
40) นายกิตติพงศ์ ราชสิกข์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดแพร่
41) นายประจักษ์ ช่างเรือ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต
42) ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม
43) นายมารุต อุปนิสากร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดมุกดาหาร
44) นายสมรักษ์ ถวาย ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
45) นายชาญชัย รสจันทร์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดยโสธร
46) นายอาดุลย์ พรมแสง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดยะลา
47) นายอธิปปรัชญ์ ภัควัฒน์ภักดี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด
48) นายปรีชา บัวกิ่ง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดระนอง
49) นายธวัชชัย อุ่ยพานิช ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดระยอง
50) นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
51) นายปัญญา แก้วเหล็ก ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี
52) นายสุทิน แก้วพนา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
53) นายวิญญู สันติภาพวิวัฒนา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดลำพูน
54) นายรอง ปัญสังกา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดเลย
55) นายชอุ่ม กรไกร ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ
56) นายเทวรัฐ โตไทยะ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร
57) นายสันติ แสงระวี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
58) นายนิสิต ชายภักตร์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสตูล
59) นายชลิต เพ็ชรรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ
60) นายวินัย ศรีเจริญ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม
61) นายปรีดี ภูสีน้ำ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร
62) นายไสว สารีบท ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว
63) นายธันวา ดีช่วย ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี
64) นายสุเมธี จันทร์หอม ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสิงห์บุรี
65) นายพยอม วงษ์พูล ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย
66) นายจักรพรรดิ์ จิตมณี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี
67) นายชุมพล ศรีสังข์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
68) นายกฤตพล ชุติกุลกีรติ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์
69) นายอัมพร พินะสา ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย
70) นายธีรพงษ์ สารแสน ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ
71) นางละออตา พงษ์ฤทัศน์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู
72) นายสุดใจ มอญรัต ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง
73) นายอดุลย์ กองทอง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ
74) นายประเวศ รัตนวงศ์ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี
75) นายอมรศักดิ์ ปิ่นทอง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์
76) นายศักดา แสงทอง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอุทัยธานี
77) นายวิชัย แสงศรี ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

วท.ถลาง กับความท้าทายเปิดหลักสูตรการช่างอากาศยาน

เริ่อง : ธวัชชัย  หนูอินทร์  ผอ.วิทยาลัยเทคนิคถลาง


จากวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยเทคนิคถลางที่ว่า ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพที่หลากหลายทุกระดับให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพและความต้องการของตลาดแรงงาน บริการวิชาการ และวิชาชีพสู่ชุมชน เน้นการบริหารจัดการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการและชุมชน

ประกอบกับพันธกิจที่ 1 หัวข้อที่ 1. คือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ และข้อ 5. การจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น รวมกับ พันธกิจที่ 5 ข้อ 2. การขยายเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการและองค์กรวิชาชีพ และข้อ 3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาชีวศึกษาร่วมกับสถานศึกษาสังกัด

จึงทำให้เกิด “หลักสูตรการช่างอากาศยาน” ในระดับ   ปวส.ขึ้นในการเรียนการสอนของ วท.ถลาง

จุดเริ่มของหลักสูตรถือว่าเป็นหลักสูตรแรกของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีความเป็นมาจากสถานประกอบการเข้ามาปรึกษาให้วิทยาลัยช่วยกันพัฒนากำลังคนด้านอากาศยาน ซึ่งเป็นที่ขาดแคลนในตลาด ประกอบกับสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของท่านเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อนุมัติหลักสูตรนี้ ทางวิทยาลัยจึงดำเนินเปิดหลักสูตรการช่างอากาศยานขึ้นมา

รูปแบบการเรียนการสอน

ในรูปแบบการเรียน นักศึกษาจะเรียนที่วิทยาลัย 1 ปีแล้วก็จะออกไปอยู่สถานประกอบการอีก 1 ปี  ในวิทยาลัยก็จะเรียนเกี่ยวกับวิชาชีพพื้นฐาน ทักษะพื้นฐานที่จำเป็น โดยก็ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรที่มีประสบการณ์เฉพาะทางด้านอากาศยานมาเป็อาจารย์พิเศษด้วย

เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้วจะมีการเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับอากาศยานทุกอย่าง เข้าใจภาษาของนักบินตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในอากาศยาน เน้นวัสดุช่างและเทคนิคพื้นฐานทางด้านช่างต่างๆ

ส่วนวิชากลุ่มพื้นฐาน สาขาช่างอุตสาหกรรมก็เรียนตามปกติแล้วเหมือน หลักสูตรระดับ ปวช. หรือ ปวส.ในวิทยาลัยอื่นและวิชาเหฃ่านนี้จะสอนในวิทยาลัย

การเรียนแนวคิดเรื่องเครื่องบินลักษณะพื้นฐานของเครื่องบินจะไม่ต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินเล็ก เฮลิคอปเตอร์ หรือเครื่องบินพาณิชย์ หลักการทำงานจะใกล้เคียงกัน เด็กเราก็จะเรียนหลากหลาย พื้นฐานของอาจารย์ที่เรียนเชิญมาก็มาจากสถาบันการพลเรือนบ้าง การบินไทยบ้าง และของบริษัทต่างๆ ด้วย

หนังสือ หรือตำราจะนำมาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าหนังสือที่เกี่ยวกับด้านนี้ในเมืองไทยมีค่อนข้างน้อย

การเรียนนอกห้องเรียนก็จะไปเรียนในสถานประกอบการอาจจะไปฝึกที่สายการบิน สนามบิน แล้วก็บริษัทที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ทำความร่วมมือเอาไว้ เพื่อที่นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติจริงๆ นำไปใช้จริงๆ และได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่

ตอนนี้ดำเนินการมา 1 ปี  ที่ผ่านมาเราได้ประเมินดูคร่าวๆ แล้วเห็นว่านักศึกษามีความเชื่อมั่น มีความมั่นใจ ในช่วงปิดภาคเรียนเล็กๆนักศึกษาได้ไปฝึกงานในบริษัทเกี่ยวกับการรับเครื่องบิน ก็ได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการและได้รับคำชื่นชมมาว่าเด็กมีความตั้งใจศึกษาและสามารถเรียนรู้ได้ดี
สำหรับบรรยากาศในการรับสมัคร ในภาคเรียน  2559  ที่ผ่านไปก็จะรับนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 23 คน ปีนี้จะรับเป็น 30 คน โดยนักเรียนจะผ่านการทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับวิทยาลัยในการคัดกรอง สอบสัมภาษณ์ ในเรื่องของพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษแล้วก็ความสนใจในทางด้านเครื่องบิน

ผู้เขียนเคยถามนักศึกษาที่เรียนสาขานี้ ว่าทำไมถึงอยากเรียน อิศรพงศ์ พาพรมราช ปวส.1 แผนกช่างอากาศยาน บอกว่า “ที่มาเรียนสาขานี้เป็นสาขาที่น่าสนใจยังไม่ได้เปิดกันเยอะแล้วก็เป็นงานที่น่าสนใจและท้าทาย ทำงานเกี่ยวกับเครื่องบินมันอันตรายก็จริงแต่ว่าค่าตอบแทนก็สูงด้วย”

ซึ่งการเรียนของเราที่นี่มีการเรียน Flight Control. ระบบไฮดรอลิค ระบบไฟฟ้าบนเครื่องบิน ระบบแลนนิ่งเกียร์ (landing gear) เรียนระบบทุกอย่างในเครื่องบิน เมื่อเรียนแล้วก็ได้รับการฝึก Marshalling ก็คือการโบกให้เครื่องบินจอดที่หลุม ช่วงปิดภาคเรียนเด็กไปฝึกปฏิบัติตามที่เรียนในรายวิชาฝึกการรับเครื่องและตรวจเช็คเบื้องต้น (walk around check) ในการตรวจอากาศยานรักษาให้เครื่องสมบูรณ์ แล้วเราก็ฝึกการเติมน้ำมัน และที่สำคัญเลยคือเราฝึกส่งเครื่องก็คือการดูระบบต่างๆ ด้วย

ถามนักศึกษาต่อว่าแล้วก็มีความประทับใจในการฝึกเด็กก็ตอบ

"ประทับใจห้องทำงาน เป็นห้องทำงานที่โล่งแจ้ง ถึงแม้มันจะร้อนแต่มันท้าทายมากครับ แล้วก็ประทับใจรุ่นพี่ แอร์โฮสเตส นักบิน เพราะเราต้องสื่อสารกับทุกคนเยอะเลย

ผมอยากเป็นนายช่างที่สามารถเซ็นปล่อยเครื่องส่งคนเดินอากาศได้ครับ เป็น licence วิศวกร จบ ปวส.นี้เราสามารถทำงานได้เลยโดยทำงาน 4 ปี เราสามารถสอบลายเส้นของไฟล์ทได้ครับ ก็คือเป็น licence หรือเป็นใบประกอบวิชาชีพ”

ความสำเร็จคือได้รับร่วมมือจากผู้ประกอบการ



เราเปิดสอนสาขาหลักสูตรการช่างอากาศยานนี้ได้เพราะได้รับความร่วมมือกับสถานประกอบการอย่างสถาบันการบินพลเรือน ก็ให้ตัวเครื่องบินมาเป็นสื่อการสอน ให้นักศึกษาได้รู้เรื่องเครื่องยนต์ลูกสูบ  เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์  

และกองทัพอากาศได้อนุเคราะห์เครื่องยนต์แคสเตอร์บายให้นักศึกษาได้ศึกษาขั้นตอนหลักการทำงาน ชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านช่างอากาศยาน

...หรือเมื่อเปิดการสอนแล้วสถานประกอบการก็ได้รับการตอบรับที่ดี หลายๆ สายการบินและบริษัทที่เราได้นำเด็กไปฝึกก็ยินดีที่จะรับนักศึกษาของเราเข้าไปฝึก และร่วมพัฒนานักศึกษาร่วมกัน

ส่วนปัญหาอุปสรรคในขณะนี้ช่างอากาศยานถือว่าเป็นสาขาใหม่ อุปสรรคที่เกิดถ้าจะกล่าวภาพรวมหลักสูตรนี้ก็คือบุคลากรของอาชีวะยังมีไม่เพียงพอและต้องใช้ผู้เชียวชาญจากภาคีเครือข่ายที่ได้ไปทำความร่วมมือ ในระยะยาวความยั่งยืนอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ว่าเกิดมีการติดขัดอะไรสักอย่างเราต้องหาตัวสำรอง ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า ในการบริหารจัดการค่อนข้างที่จะยากและใช้งบประมานอยู่พอสมควร

อนาคตของผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในด้านช่างอากาศยานได้และยังสามารถเก็บเกี่ยวประสบการเพื่อที่จะไปสอบใบอนุญาตทางด้านมาตรฐานสากลต่างๆ เพื่อที่จะได้ไปในระดับที่สูงยิ่งขึ้น

เป้าหมายของการพัฒนาในอนาคต

ตอนนี้ทางวิทยาลัยเปิดหลักสูตรถึงระดับ ปวส.  ซึ่งก็หวังว่านักศึกษาของเราเมื่อจบไปแล้วมีงานรองรับเงินเดือนมากกว่าปริญญาตรี แต่ก็สามารถไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ ในสาขาวิศวกรรมการบิน และแนวโน้มในอนาคตทางอาชีวะเองก็อยากเปิดถึงระดับปริญญาตรีเพื่อที่จะได้รองรับนักศึกษาที่จบไปได้กลับมาในระบบการศึกษาปริญญาตรีของอาชีวะ

แนวโน้มในอนาคตก็จะจะปรับพื้นฐานเป็นอิงลิชโปรแกรมด้วย ถ้าเป็นไปได้ในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรอยากจะให้ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานการอาชีวะศึกษาได้สนับสนุน อาจจะเป็นนักเรียนหรือครูอาจารย์ที่ได้ไปศึกษาต่อในด้านนี้แล้วกลับมาเป็นครูอาจารย์เพื่อที่จะให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น

ถึงขณะนี้วิทยาลัยเทคนิคถลาง ถือว่าเป็นต้นแบบ แต่ก็ยินดีที่จะแบ่งบันประสบการณ์ในการเปิดเรียนสาขานี้ ผ่านมามาก็ยินดีที่เพื่อนจาก วิทยาลัย อื่นในสังกัด สอศ. มาดูงานเ เช่น วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี แล้วก็วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ที่เข้าไปดูงาน ไปศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเปิดหลักสูตร

กล่าวโดยสรุป คือการเรียนสาขาช่างอากาศยานเรามีฝึกการปฏิบัติจริง เมื่อจบไปสถานประกอบการรองรับ 100% แน่นอน โดยเฉพาะสาขาช่างอากาศยานเป็นสาขาที่ตลาดมีความต้องการ ก็อยากจะเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาที่มีความสนใจ ที่มีใจที่จะศึกษาทางด้านช่างอากาศยานและชอบทางด้านการบิน ก็ขอเชิญชวนมาที่วิทยาลัยเทคนิคถลาง สามารถเข้ามาดูทางเว็บไซด์ของเรา หรือว่าเบอร์โทรศัพท์ของวิทยาลัยตอนนี้ เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นที่ 2 ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นทางเลือกและจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

สุดท้ายลูกหม้อของชาวอาชีวศึกษา จึงอย่างฝากข้อคิดไว้ใน “บันทึกจากรุ่นพี่” ว่า

คุณคิดอยากเป็นอะไร จะเป็นอย่างที่คุณคิด ให้กำลังใจทุกๆคนที่มีความฝันและพยายามทำความฝันนั้นให้เป็นความจริง นะครับ “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง แสวงหา อย่ารอคอย”

หลักในการทำงาน ในการครองตน ครองคนครองงาน ครองตนด้วย จริยธรรม ครองคนด้วย คุณธรรมครองงานด้วยจรรยาบรรณ

ตลอดระยะเวลาในการทำงานให้สำเร็จใช้ 3 มั่นคือ  ยึดมั่น มุ่งมั่น เชื่อมั่น
- ยึดมั่น ในอุดมการณ์ความเป็นครูเป็นข้าราชการที่ดีของประชาชน เมื่อเหนื่อยล้าท้อแท้ จะนึกถึงในหลวง พระองค์ท่านทรงตรากตรำพระวรกายหาใช่เพื่อพระองค์ท่านแต่เพื่อประชาชนโดยแท้
- มุ่งมั่น ในการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล
- เชื่อมั่น ในการตัดสินใจ บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล


ธวัชชัย  หนูอินทร์
ชาวอําเภอศรีบรรพต  จังหวัดพัทลุง
ประวัติการศึกษา
ปวช.และ ปวส. สาขาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง 
หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) สาขาวิชาไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
ปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต  วิศวกรรมไฟฟ้า  สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการทำงาน
บรรจุเป็น อาจารย์ 1 ระดับ 3  สาขาช่างไฟฟ้า  วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส  ก่อนจะย้ายมายังวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
รอง ผอ.วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร
รอง ผอ.วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์  
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผอ.วิทยาลัยเทคนิคถลาง
คติประจำใจ คือThink big you will be big 

“กริยาบุญ” ที่คุณครูร่วมสร้าง ณ ร.ร.วัดหนามแดง

การมาเยือนวัดหนามแดง จังหวัดสมุทรปราการ พลาดไม่ได้ที่จะเข้าสักการะหลวงพ่อบุญเหลือ พระประธานปางมารวิชัยในอุโบสถวัดหนามแดง อำเภอบางพลี ​
 เพียงเพ็ญ สุรารักษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนามแดง(เขียวอุทิศ)  

​วัดนี้ที่ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง  มีสะพานข้ามคลองในเชื่อมต่อกับถนนเทพารักษ์ภายในวัด
เมื่อเดินย้อนมาทางถนนเทพารักษ์ เราก็เจอ โรงเรียนวัดหนามแดง (เขียวอุทิศ) อ.บางพลี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาแห่งนี้สร้างเต็มพื้นที่  6 ไร่ จากที่ดินสังฆมณฑลเนื้อที่กว่า 15 ไร่  ของวัดหนามแดง โดยแบ่ง 2 ส่วนโดยมีการบริจาคให้ทางราชการ คือ โรงเรียนระดับประถมศึกษา และสถานีอนามัย

เมื่อเดินผ่านลานกีฬาอเนกประสงค์ไปด้านหน้าโรงเรียน เพื่อไปสักการะ พระพุทธโลกนาถประสาทธรรม  ประชาบพิตร  ที่ประดิษฐาน ในวิหารจตุรมุข เป็นพระประจำโรงเรียน
...เดินผ่านน้อง ๆ หนู ๆ นักเรียนตัวน้อยย่อตัวเคารพ แล้วทักทายยกมือไหว้ อย่างเป็นปกติธรรมดา รับแขกผู้มาเยือน
ที่หน้าพระพุทธรูปประจำโรงเรียนฯ เราได้พบ ชลอ  มั่นฤทธิ์  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป/วิชาการ วัดหนามแดง (เขียวอุทิศ) บอกกับเราอย่างภูมิใจว่าที่เห็นนั่นคือ
“กริยาบุญให้เห็น ซึ่งนักเรียนโรงเรียนวัดหนามแดงทุกคนจะมีพฤติกรรมและนิสัยนี้ติดตัวไป”
ก่อนจะออกตัวว่า สำหรับอาคารสถานที่นี่แล้วไม่ได้ร่มรื่น เพราะพื้นที่จำกัด คับแคบ
“ถ้าเอาภูมิทัศน์ของสถานศึกษามาเป็นตัววัดรางวัลต่าง ๆ เราคงไม่ได้ แต่นี่เมื่อมีการประกวดพฤติกรรม วิธีสอน วิธีปฏิบัติต่อเด็กให้อยู่ในแนวทางวิถีพุทธเราก็ทำได้แต่คิดว่าทำได้ดีด้วย”
สิ่งที่เราเห็นอาคาร สถานที่เรียนในพื้นที่ 6 ไร่ ตั้งอยู่ในธรณีสงฆ์ นี่คือเอาคารเรียน  จำนวน 2 หลัง พ.ศ. 2527  ได้งบประมาณของทางราชการมาสร้างอาคารเรียนแบบ 017ใช้ชื่ออาคารเรียนว่า  “เรือนพินิจประชาสรรค์” พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณจาก สปจ.สมุทรปราการ   ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบสปช 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2534  ได้รับงบประมาณจากสปจ.สมุทรปราการ   ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 4   แบบสปช. 2/28  จำนวน 1 หลัง  3 ชั้น  9  พ.ศ. 2539  ได้รับงบประมาณจาก สปจ.สมุทรปราการ สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28  จำนวน 1 หลัง อาคาร 3 ชั้น 9 ห้องเรียน  พ.ศ. 2542  ได้รับเงินบริจาคจากเอกชนเป็นอาคารเรียน  2 ชั้น  10 ห้องเรียนราคา 2,950,000 บาท  พ.ศ. 2547- 2549  ได้รับงบประมาณจาก  อบต.บางแก้วในการสร้างรั้วรอบบริเวณโรงเรียน และพ.ศ. 2551ได้รับงบประมาณจาก  อบต.บางแก้วในการสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์

ผู้บริหารมาสร้างความเปลี่ยนแปลง

แม้นสถานที่จะแออัดแต่เมื่อ เพียงเพ็ญ สุรารักษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนามแดง(เขียวอุทิศ)  มารับตำแหน่งก็สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
“...เริ่มต้นจากปรับพื้นที่จำกัดนี้ให้เข้าเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ อย่างสถานที่ห้องเรียน  ทุกห้องเรียน จะต้องมีพระพุทธรูป ต้องมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในห้องเรียน
ก่อนหน้านี้เรามีแต่ไม่ครบทุกห้องแล้วก็ เราก็ขอบริจาค จากนั้นก็ครบ เพราะฉะนนั้นเด็กเข้าไปในห้องก็ต้องนั่งสมาธิก่อนเรียน แล้วก็เรื่องสวมชุดขาว เป็นการสร้างบบรยากาศ ที่เหนว่าสวมชุดขาวแล้วไม่ได้อะไรมันไม่ใช่  แต่จิตใจต้องบริสุทธิ์
เด็กก็คือผ้าขาว  เราก็บอกเขาว่าหนูแต่งชุดขาวนะคะ  ต่อไปเวลาจะวิ่งจะเดิน ระวังเลอะเทอะชุดขาวบริสุทธิ์ ก็บอกไปพยายามสร้างบรรยากาศเขานิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างให้เขาค่อย ๆ พูด
พฤติกรรมคุณครูก็ค่อย ๆ พูดกับเด็กเขา จากคุณครูที่พูดจาเสียงดัง พูดจากโหวกเหว  หรือตีไหล่  โมโห ก็บอกคุณครูเพลา ๆ ลอง ลองดูซิว่าประสบความสำเร็จได้ครูที่นี่ได้จริง ๆ ร่วมกับคุณครูและกรรมการสถานศึกษาปรับให้มันสอดรับกัน แล้วก็เริ่มทำโครงการเข้าไปสู่แผนปฏิบัติการฯ”

“ก่อนหน้านี้ ที่นี่เขาก็เคยเสนอโรงเรียนวิถีพุทธเหมือนกันแต่ไม่ได้จริงจังมากมาย พอตัวเองมา ก็คิดว่าจากประสบการณ์ที่เราบริหารโรงเรียนเดิม (โรงเรียนชุมชนวัดบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ )เราประสบความสำเร็จในเรื่อง แก้ปัญหาเด็กก็เลยเอาเรื่องวิถีพุทธมาใช้”

ทั้งนี้ความสำเร็จจากความร่วมมือทำงานการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผอ.เพียงเพ็ญ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
“เราไม่คิดว่าครูเป็นลูกน้อง คิดว่าเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นพี่เป็นน้องเพราะฉะนั้น นี่เป็นส่วนหนึ่งที่คุณครูเขาพูดนะ ว่า ผอ.ไม่เคยเรียกตัวเองว่า ผอ.เลย จะเรีบกว่าตัวเองว่าเพ็ญ  หรือ พี่
ถ้ารุ่นอายุเยอะก็หนู แต่เราก็ต้องรู้ว่าครูคนไหนจะเข้าแบบไหน ที่จะบอกให้เขาทำแบบไหน  อะไรอย่างนี้
ทุกวันนี้ถ้ามีอะไรก็ถามกัน ว่าเอาไหม เอาอย่างนี้ดีไหม พอเขาเสนอเองแล้วเขาก็รู้แนวทางดีแล้ว เขาก็จะทำไปด้วยกัน แล้วมีอะไรผิดพลาด ก็จะมาคุยกันว่าเราจะมาปรับอย่างไหนดี พอได้รับรางวัลอะไรก็มาแชร์บอกกันว่าเราประสบความสำเร็จอะไร ร่วมภาคภูมิใจด้วยกัน
...ก็ให้คุณครูได้ทราบว่าโรงเรียนเราจะไปทิศทางใดบอกกับผู้ปกครองในคราวที่ประชุม บอกครูว่าถ้าเด็กดีแล้วนี่เด็กก็จะเรียนเก่งในที่สุดอันนี้ก็เป็นธงที่สำคัญที่ให้เด็กดีมีคุณธรรมจริยธรรม
จริง ๆ ครูเขาตั้งใจทำงานมาก่อน ส่วนเราตั้งธงไว้ขายความคิดให้คุณครูให้ชัด พอชัดเจนแล้วคุณครูก็จะรู้ว่าทำอย่างไร  โดยเรากับฝ่ายบริหารค่อย ๆ เติมเต็มนะ
ทำมาจากเดิมที่เขามีอยู่แล้วกับเราที่อยู่มา 4 ปีทำนานกว่าจะได้ตรงนี้ พอได้แล้วมีโล่ห์มีเกียรติบัตรมีอะไนเราก็มาร่วมภูมิใจด้วยกัน ที่สิ่งที่เราทำมาร่วมภูมิใจ ด้วยกัน
ก็หมายถึงว่า เราประสบความสำเร็จร่วมกันแล้วพอ สพฐ. เขามาประชุมที่ มหาจุฬาฯ ที่วังน้อยก็มาดูงานที่นี่ ทาง ศน.ที่มาดูงานก็พูดให้ฟังว่า เขาเป็นอะไรบ้าง เชิญครูมาหมดเลย พอเขาพูดครูก็ดีใจ
บางคนน้ำตาซึมเลยว่า อุ้ย...เป็นแบบนี้เหรอ
เขามองดูเรา คำพูดที่ว่า  ไม่ใช่สถานที่นี่ ที่เห็น แต่เป็นตัวที่เด็ก...แล้วที่เขาชมคือ ผอ. และรองนี่เป็นประชาธิปไตย มีอะไรคุยกัน เวลาต้องปรับปรุงอะไรก็คุยทุกอย่างต้องค่อย ๆ ทำค่อย ๆ ไปด้วยกัน กับคุณครูทำไปด้วยกัน เด็กเขาก็จะได้รับรู้รับทราบไปด้วยกันอะไร...

เปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวสู่นิสัยที่พึ่งประสงค์​

จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ว่า  “ผู้เรียน ใฝ่เรียนใฝ่รู้   มีคุณธรรม  จริยธรรม  รวมใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   รักษ์ความเป็นไทย  เรียนรู้สู่สากล  และปฏิบัติตนตามแนวคิด  เศรษฐกิจพอเพียง”
เมื่อบริหารโรงเรียนฯ มาร่วม 4 ปี แล้ว ก็มีความภูมิใจผู้บางประการ
“ปัญหาทะเลาะชกต่อยกันที่หนามแดงที่นี่มี ...มาใหม่ๆ เด็ก ป.6 ต่อยกันแล้วก็ทะเลาะกับโรงเรียนไพรีขยาด โรงเรียนคลองบางแก้ว  ซึ่งแต่เราติดต่อแก้ปัญหากันตลอด  ทางฝ่ายบริหารก็แก้ไขกัน เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ ทีนี้ก็เริ่มคุยกันว่า เราต้องเริ่มให้ทำอย่างไร ก็มีความคิดร่วมกันว่า ต้องให้เด็กเป็นคนดีให้ได้
ทีนี้ทำอย่างไรละ  พอพีมีเรื่องของวิถีพุทธชั้นนำมา มี 29 ประการเราก็มาดูว่า ของเราจะ 29 ประการมีอะไรที่ยังบกพร่องอยู่บ้างก็เอามาเพิ่มเติม”
มาถึงปัจจุบัน ความภูมิใจที่ครูและบุคคลากรทำได้คือ

“...เราฝึกเด็กให้มีวินัยได้บางกิจกรรม แต่บางกิจกรรมอย่างเด็กเดินเปลี่ยนชั่วโมงยังให้ครูคุมอยู่  อยากให้เห็นเป็นวิถีชีวิตไม่จำเป็นครูต้องคุมให้เขาคุมตัวเขาเองให้ได้ อยากเห็นแบบนี้ทุกอย่างให้เป็นวิถีชีวิต
ตอนนี้ที่เป็นวิถีชีวิตที่ต้องชมมีมีน้องจอซ เป็นเด็กพิเศษ แต่เขาโตกว่าใคร แล้วเขาเป็นสารวัตรนักเรียนด้วย เช้าขึ้นมาเขามีหน้าที่เข็นถุงนมที่จะใส่ถุงขยะ แล้วจะเอานมมาแล้ววางไว้ให้เพื่อน ๆ  เขาโตที่สุดแต่เขาเป็นเด็กพิเศษ ร่างกายเดินแล้วเป๋ แต่เมื่อเขายกบ่อย ๆ เขาจะดีขึ้น อันนี้เป็นวิถีชีวิตที่ดีแล้วเด็กต้องตั้งใจทำงาน
อีกเรื่องคือการทำความสะอาด ถึงเวลาเพลงจากห้องกระจายเสียงดังขึ้น นักเรียนก็ไปทำความสะอาดตามหน้าที่  ครูไม่ต้องคุม โดยเฉพาะตรงโดมลานกีฬาอเนกประสงค์นี่  ถึงเวลาก็ที่จะเอาเชือกพันรอบเลยไม่ให้เด็กเดินผ่าน แล้วก็จะเอาถังน้ำมาถู โดยที่ครูไม่มี
ซึ่งถ้าครูไม่มี ไม่คุมถือว่าสุดยอดของความรับผิดชอบของเด็ก”

ข้อคิดสุดท้ายก่อนลาของ ผอ.เพียงเพ็ญ บอกว่าขอปวารณาตัวว่าอยากบริหารที่นี่จนกว่าจะเกษียณในปี 2563  ...ก็มีคำถามต่อว่าอะไรที่ยังคาใจ ฐานะผู้บริหารฯว่าน่าจะทำให้เเสร็จก่อนเกษียณ
“...การมีส่วนร่วมของชุมชนยังไม่เต็มร้อย ตอนนี้ทุกวันศุกร์มีผู้ปกครองมาใส่บาตรด้วยแค่เริ่มอนุบาล เป็นเจ้าภาพเดือนนี้ และ ป.1-2-3-4 ตอนนี้ถึง ป.4  ก็ยังมาบ้างไม่มาบ้างผู้ปกครองร่วมน้อย
อีกเรื่องคือการดึงบุคคลที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาจากชุมชน ผู้มีความสามารถ ประสบความสำเร็จในชีวิต มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในตอนบ่ายก็ไม่ค่อยมี คือวันศุกร์จะมีการสวดมนต์ตอนเย็น เราจะเชิญให้เขามาพูดเดือนละครั้งนี้ แต่ที่ดำเนินการอยู่แต่ยังไม่ถือประสบความสำเร็จ...” 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ด่วน รายชื่อศึกษาธิการภาคตาม มาตรา 44 พร้อมเขตรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559  พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 18 ภาค 

ดังนั้นขอคำสั่งหลาย ๆ คำสั่งของ รมว.ศธ. ออกมาได้ดังนี้ ว่าใครเป็นผู้บริหารท่านใดบ้าง  
นายพิษณุ ตุลสุข  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17  

สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ที่ตั้งจังหวัดปทุมธานี
รับผิดชอบ  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
นายดิศกุล เกษมสวัสดิ์  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง)  ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 1
นายนิธิบดี เที่ยงวรรณกานต์  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 1

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ที่ตั้งจังหวัดปทุมธานี
รับผิดชอบ  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
นายอนันต์ ระงับทุกข์  ผู้ตรวจราชการกระทรวง / ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการ 2   
นางวัลลีย์ ศรีรัตน์  นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ / ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 2

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3 ที่ตั้งจังหวัดฉะเชิงเทรา (สพม. เขต 6)
รับผิดชอบ ฉะเชิงเทรา นครนายก  ปราจีนบุรี  สมุทปราการ สระแก้ว
นางจินตนา มีแสงพราว  (รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 3  
นายธีรวัฒน์ วรรณนุช  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 3

สำนักงานศึกษาธิการภาค 4 ที่ตั้งจังหวัดราชบุรี
รับผิดชอบ กาญจนบุรี  นครปฐม  ราชบุรี  สุพรรณบุรี
นายกฤตชัย อรุณรัตน์  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 4
นายสมศักดิ์ เรืองสุวรรณ  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 4

สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 ที่ตั้งจังหวัดเพชรบุรี (สพม.10)
รับผิดชอบ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี  สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
นายศรีชัย พรประชาธรรม  (รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 5  
ว่าที่ ร.อ.วิสาร ปัญญชุณห์  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต เขต 10)  ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค  5

สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 ที่ตั้งจังหวัดสงขลา
รับผิดชอบ สงขลา นครศรีธรรมราช  พัทลุง  สุราษฏร์ธานี
นางเสาวนีย์ พนัสสรณ์  (รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 6
นายพัฒนา ชมเชย  (นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)  ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค  6

สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 ที่ตั้งจังหวัดภูเก็ต 
รับผิดชอบ ภูเก็ต กระบี่  ตรัง  พังงา  ระนอง
นางสุจิตรา พัฒนะภูมิ  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 7
นายสมพร ฉั่วสกุล  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 7

สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ที่ตั้งจังหวัดยะลา
รับผิดชอบ นราธิวาส  ปัตตานี  ยะลา  สงขลา  สตูล
นายวีระกุล อรัณยะนาค  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค  8
นายศราวุธ อรรถานุรักษ์  (นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 8

สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ที่ตั้งจังหวัดชลบุรี
รับผิดชอบ จันทบุรี  ชลบุรี  ตราด  ระยอง
นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค  9   
นายสมบูรณ์ อรุณพงษ์  (นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)  ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค  9

สำนักงานศึกษาธิการภาค 10  ที่ตั้งจังหวัดอุดรธานี
รับผิดชอบ บึงกาฬ  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี
นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 10  
นายประหยัด พิมพา  (นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 10

สำนักงานศึกษาธิการภาค 11  ที่ตั้งจังหวัดสกลนคร (สพม.23)
รับผิดชอบ นครพนม  มุกดาหาร  สกลนคร
นายอำนาจ วิชยานุวัติ  (ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค ภาค 11  นายเสถียร แสนอุบล  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค  11

สำนักงานศึกษาธิการภาค 12  ที่ตั้งจังหวัดขอนแก่น (สพม.25)
เขตรับผิดชอบ  ขอนแก่น  กาฬสินธุ์  ขอนแก่น  มหาสารคาม  ร้อยเอ็ด
นายประเสริฐ หอมดี  (รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) 
ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 12  นายกิตติ บุญเชิด  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25)  ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 12

สำนักงานศึกษาธิการภาค 13  ที่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานี  
เขตรับผิดชอบ อุบลราชธานี ยโสธร  ศรีสะเกษ  อำนาจเจริญ  
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 13
นายสำเภา สมบูรณ์  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 13

สำนักงานศึกษาธิการภาค 14  ที่ตั้งจังหวัดนครราชสีมา 
เขตรับผิดชอบ นครราชสีมา  ชัยภูมิ  บุรีรัมย์  สุรินทร์
นายอรรถพล ตรึกตรอง  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 14
นายสมเกียรติ แถวไธสง  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 14

สำนักงานศึกษาธิการภาค 15  ที่ตั้งจังหวัดเชียงใหม่
เขตรับผิดชอบ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน
นายประเสริฐ บุญเรือง  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 15
นายประเทือง ทรัพย์เกิด  (นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 15

สำนักงานศึกษาธิการภาค 16 ที่ตั้ง จังหวัดเชียงราย (สพม 36)
รับผิดชอบ เชียงราย  น่าน  พะเยา  แพร่ 
นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์  (ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค  
นายคำจันทร์ รัตนอุปการ  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 16

สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 ที่ตั้ง จังหวัดพิษณุโลก
รับผิดชอบ พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์ 
นายพิษณุ ตุลสุข  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17  
นายวีระ เมืองช้าง  (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาค 17  

สำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ที่ตั้ง จังหวัดกำแพงเพชร  (สพม.41)
รับผิดชอบ  กำแพงเพชร  นครสวรรค์  พิจิตร  อุทัยธานี
นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์  รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร / ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค ภาค 18   
นายสงวนศักดิ์ เศรษฐีธัญญาหาร  (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41) ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการ ภาค 18

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความเห็นต่อคำสั่งคสช.เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค

จาตุรนต์ ฉายแสง‬ ‪
จาก fb : Chaturon Chaisang


‘เด็ดขาดรวดเร็ว’ จะกลายเป็น ‘ช้าและยุ่งเหยิง’

การออกคำสั่งนี้น่าจะเกิดจากเห็นปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบงานและต้องการแก้ปัญหาที่มีอยู่

แต่คำสั่งนี้ไม่ได้เกิดจากกระบวนการศึกษาหรือมีงานวิจัยใดๆ มารองรับ แต่น่าจะมาจากการคุยกันไม่กี่คนโดยขาดการปรึกษาหารือผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ สะท้อนให้เห็นว่าทั้งผู้ที่เสนอและผู้ออกคำสั่งขาดความเข้าใจต่อความซับซ้อนของการจัดการศึกษาและขาดความรู้ความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปัญหาการจัดการศึกษาในต่างจังหวัดด้วย จึงทำให้แก้ไม่ถูกจุดและจะยิ่งสร้างปัญหามากขึ้น ทำให้การปฏิรูปการศึกษาที่ไม่มีวี่แววอยู่แล้วยิ่งไม่เกิดขึ้น

ปัญหาใหญ่ คือ เป็นการเลือกทำในเรื่องที่ยังไม่ควรรีบทำ ...ส่วนเรื่องที่ควรทำกลับไม่ทำ 

การเปลี่ยนโครงสร้างจะทำให้บุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบจะต้องสาละวนกับเรื่องโครงสร้าง ทำความเข้าใจต่อระบบใหม่ เป็นกังวลต่อผลกระทบที่จะตามมาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และเส้นทางความก้าวหน้าตำแหน่งจนไม่สนใจการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตร การเรียนการสอน และการพัฒนาครูที่ต้องการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการทำแบบ ‘กลับหัวกลับหาง’ คือ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับรองก่อนการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมที่ก็ยังไม่มีความชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องมองไม่เห็นภาพรวม สับสน และขาดความเชื่อมั่นต่ออนาคตที่จะตามมา

โครงสร้างใหม่นี้จะกระทบวิทยาลัยและโรงเรียนทุกสังกัด มีผลต่อการทำงานของเขตพื้นที่และเขตมัธยมศึกษาอย่างแน่นอน เนื่องจากผอ.เขตจะไม่มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายใด ๆ และอำนาจการสั่งการก็ไปอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดที่จะต้องสั่งการและกำกับสถานศึกษาในทุกสังกัดทั้งจังหวัด

...เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงต้องการให้เกิดความเป็นเอกภาพในระดับจังหวัด แต่การมีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ดูจากองค์ประกอบแล้วจะมีปัญหาการขาดความเข้าใจต่อการจัดการศึกษาหรือมีความเข้าใจที่ต่างๆกันไป จึงไม่แน่ว่าจะเกิดเอกภาพจริง

ระบบนี้ไม่มีหลักประกันว่าการแต่งตั้งโยกย้ายที่มีปัญหามาตลอดจริงจะดีขึ้น มีความเสี่ยงที่การจัดการศึกษาจะอยู่ใต้ระบบอำนาจมากไป โรงเรียนไม่ได้มีอิสระมากขึ้น และครูอาจจะมีเวลาอยู่กับนักเรียนน้อยลงไปอีก เพราะต้องรับคำสั่งหลายหน่วยงาน คล้ายกับปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน

ปัญหาใหม่และใหญ่มากที่จะเกิดขึ้น ก็คือ การขาดความเป็นเอกภาพในระดับประเทศ จังหวัดต่างๆ อาจจะกำหนดทิศทางที่แตกต่างกันไปคนละทิศละทาง แม้จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนในระดับภูมิภาคที่รัฐมนตรีเป็นประธานคอยกำกับ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทยก็อาจไม่ฟังรัฐมนตรีศึกษาก็ได้

การออกคำสั่งครั้งนี้ต้องการให้เกิดสายบังคับบัญชา ดูเหมือนรวดเร็วเด็ดขาด แต่เมื่อขาดวิสัยทัศน์ ความเข้าใจ และไม่ฟังความให้รอบด้านแล้ว

ที่ว่า ‘รวดเร็ว’ กลับจะยิ่งช้า คือ จะทำให้โอกาสในการปฏิรูปการศึกษาจะล่าช้าออกไป 

ที่ว่า ‘เด็ดขาด’ ก็กลับจะกลายเป็นการทำให้โกลาหลและยังอาจเป็นความเสียหายต่อการศึกษาของชาติไปอีกนาน

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

ยินดีกับตำแหน่งทางวิชาการที่ ก.พ.อ. อนุมัติ

ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558 ซึ่งมีนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น คือ 

ศาสตราจารย์วรพงษ์ มนัสเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนขั้นสูง ในสาขาวิชาตจวิทยา (โรคผิวหนัง) มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 60 ราย  รองศาสตราจารย์ 29 ราย  ศาสตราจารย์ 13 ราย  ศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนขั้นสูง 1 ราย การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

แยกเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเดิม 33 ราย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 14 ราย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 13 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 29 ราย แยกเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเดิม 25 ราย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 ราย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2 ราย ดังนี้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.  น.ส.ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / สถาปัตยกรรม
2.  น.ส.ปาหนัน เริงสำราญ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จุลชีววิทยา
3.  นายไพรัช ตั้งพระประเสริฐ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเครื่องกล
4.  นางทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
5.  นส.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเครื่องกล
6.  ผศ.ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์  รองศาสตราจารย์ / ดุริยางคศิลป์
7.  ผศ.ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล  รองศาสตราจารย์ / วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
8.  ผศ.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง รองศาสตราจารย์ / ภาษาไทย
9.  ผศ.พรชนก คัมภีรยส คูเวนเบิร์ค  รองศาสตราจารย์ / เศรษฐศาสตร์
10. ผศ.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย  รองศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีปิโตรเคมี
11. ผศ.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์  รองศาสตราจารย์ / วิศวกรรมโยธา
12. ผศ.อังคีร์ ศรีภคากร  รองศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเครื่องกล
13. ผศ.ฐิติวดี ชัยวัฒน์  รองศาสตราจารย์ / การประกันภัย
14. ผศ.วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี  รองศาสตราจารย์ / วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15. นายอภิชาต ตะลุณเพธย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เศรษฐศาสตร์เกษตร
16. น.ส.วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ศึกษาศาสตร์
17. นางอำไพ ทองธีรภาพ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / สถิติ
18. ผศ.เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์  รองศาสตราจารย์ / เศรษฐศาสตร์

 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
19. นายอนุชา แสงรุ่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมไฟฟ้า
20. น.ส.ขนิษฐา หมู่โสภิญ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีชีวภาพ
21. นางลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / การพยาบาล
22. นายพีรพงศ์ กุประดิษฐ์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ทันตกรรมหัตถการ
23. นส.รัตนภรณ์ ลีสิงห์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จุลชีววิทยา
24. นส.ปิยะดา ส่งเสริมสกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / พิษวิทยา
25. ผศ.สุวรรณี วิษณุโยธิน  รองศาสตราจารย์ / กุมารเวชศาสตร์
26. ผศ.วัณทนา ศิริธราธิวัตร  รองศาสตราจารย์ / กายภาพบำบัด

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27. นายสุชาติ หินมะลิ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ภาษาอังกฤษ
28. ผศ.อาทิตย์ พวงมะลิ  รองศาสตราจารย์ / กายภาพบำบัด

 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. นางสุวรรณา โควะวินทวีวัฒน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เทคนิคการแพทย์

 มหาวิทยาลัยนเรศวร
30. น.ส.ชื่นจิตร กองแก้ว  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เภสัชศาสตร์
31. น.ส.สมลักษณ์ วรรณฤมล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมอุสาหการ
32. น.ส.ละออ ชมพักตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / พยาธิวิทยากายวิภาค

 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
33. นส.มุสลินท์ โต๊ะกานิ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / การพยาบาล

 มหาวิทยาลัยบูรพา
34. นางอัครา ธรรมมาสถิตย์กุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ

 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
35. น.ส.รักฤดี สารธิมา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ชีวเคมี
36. นางวนิดา ไทรชมภู  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เภสัชศาสตร์
37. ผศ.อาณัติ จันทร์ถิระติกุล  รองศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีการผลิตสัตว์

 มหาวิทยาลัยมหิดล
38. น.ส.ทิพนาถ วิชญาณรัตน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ทันตกรรมชุมชน
39. น.ส.สายพิณ เมืองแมน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิสัญญีวิทยา
40. นายนาวิน ห่อทองคำ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จุลชีววิทยา
41. ผศ.อุษาวดี อัศดรวิเศษ  รองศาสตราจารย์ / พยาบาลศาสตร์
42. ผศ.กุลภา ศรีสวัสดิ์  รองศาสตราจารย์ / เวชศาสตร์ฟื้นฟู
43. ผศ.พูนพิลาส หงษ์มณี  รองศาสตราจารย์ / พยาธิวิทยา
44. ผศ.ธีรพงษ์ กระแจะจันทร์  รองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ / พยาธิวิทยาคลินิก

 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
45. นายประชา บุณยวานิชกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเครื่องกล
46. ผศ.ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ  รองศาสตราจารย์ / พลศึกษา
47. ผศ.วีณา เสียงเพราะ  รองศาสตราจารย์ / เคมี
48. ผศ.พัชรินทร์ แสงจารึก  รองศาสตราจารย์ / พยาธิวิทยา

 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
49. นายประสพชัย วิริยะศรีสุวัฒนา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ฟิสิกส์

 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
50. นางสุพัชรินทร์ พิวัฒน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ทันตแพทย์ศาสตร์
51. นางวิลาวัณย์ ทองเรือง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เภสัชศาสตร์
52. ผศ.เจษฎี แก้วศรีจันทร์  รองศาสตราจารย์ / เภสัชศาสตร์
53. ผศ.วรัญญู ศรีเดช  รองศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
54. น.ส.ปรียาภรณ์ เจริญบุตร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
55. นายสำเริง ชื่นรังสิกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / คณิตศาสตร์

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
56. น.ส.มนฤดี ผ่องอักษร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เคมี
57. ผศ.โกวิทย์ ปิยะมังคลา  รองศาสตราจารย์ / เคมี
58. ผศ.อนุรักษ์ ปิติรักษ์สกุล  รองศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเคมี

 สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
59. นายชนัญญ์ชัย วุฒิธันยาวัฒน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมไฟฟ้า
60. นางณาวดี ศรีศิริวัฒน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเคมี

 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
61. นางปิยพร ศรีสม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เคมี
62. ผศ.เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท  รองศาสตราจารย์ / จิตวิทยา

 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
63. นายณัฐชัย พงษ์พานิช  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / บริหารธุรกิจ

 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
64. นางจันทร์เพ็ญ แสงอรุณ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จิตวิทยา
65. นางศศิธร สังข์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จิตวิทยา
66. นายประกอบ ใจมั่น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
67. นายธงรบ ขุนสงคราม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ดนตรี
68. ผศ.อาลัย จันทร์พาณิชย์  รองศาสตราจารย์ / ภูมิศาสตร์

 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
69. น.ส.บุษบาวดี พุทธานุ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เคมี
70. ผศ.สังคม พรหมศิริ  รองศาสตราจารย์ / นาฏศิลป์

 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
71. นางเกษรา โพธิ์เย็น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / การบริหารทรัพยากรมนุษย์
72. น.ส.นภาพร แก้วดวงดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ชีววิทยา

 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
73. นางอรนุช จินดาสกุลยนต์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ /เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต

 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
74. น.ส.สุนทรีย์ สุรศร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / พืชศาสตร์

 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
75. นายกฤษฎา พิณศรี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ศิลปกรรม
76. น.ส.ศศิวรรณ พชรพรรณพงษ์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / หลักสูตรและการสอน

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
77. นายจักรี ศรีนนท์ฉัตร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

78. นายชัยรัตน์ หงษ์ทอง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / เทคโนโลยีอุตสาหการ

79. นางสานิตย์ดา เตียวต๋อย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเกษตร

80. นางสุธีลักษณ์ นิติธรรม แก่นทอง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / การจัดการ

81. นายเกรียงไกร แซมสีม่วง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเกษตร

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

82. ผศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์  รองศาสตราจารย์ / มานุษยวิทยา

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

83. นายพัลลภ วังบอน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ศิลปะภาพพิมพ์

84. นายฐิติพันธ์ จันทร์หอม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / จิตรกรรม


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

85. ผศ.เกชา คูหา  รองศาสตราจารย์ / สัตวศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

86. นางพรโพยม วรเชฐวราวัตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

87. น.ส.พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / สถิติ


 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

88. นายวสันต์ ศรีเมือง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / วิศวรกรรมเครื่องกล

89. นางยุพาภรณ์ พิริยศิลป์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์ จำนวน 13 ราย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1 ราย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 ราย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3 ราย, มหาวิทยาลัยมหิดล 2 ราย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 ราย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 ราย

และได้อนุมัติกำหนดตำแหน่ง ศาสตราจารย์วรพงษ์ มนัสเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนขั้นสูง ในสาขาวิชาตจวิทยา (โรคผิวหนัง) มหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

สระยายโสมวิทยา ...ธรรมสะท้อนแสงแห่งท้องทุ่งสุพรรณ

วิชญะ  คุรุพิทักษ์ : เรื่อง / Fadhill Creative Studio  : ภาพ


เสียงสวดสรภัญญะบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนาดังมาแต่ไกล เมื่อมองผ่านรั้วโรงเรียนเข้า พบคณะครูโรงเรียน นักเรียนนั่งเรียบร้อย เสื้อขาวสำหรับใส่วันพระใส่มาอย่างพร้อมเพรียง

เสื้อสีขาวตัดพื้นหญ้าสีเขียวเย็นตา ...ผสานแสงระยับของน้ำค้างกระทบเหลี่ยมของแสงแดดยามเช้า สะท้อนราวเกล็ดแก้ว
คณะผู้เขียนงเราก้าวลงมาได้สัมผัสลมเย็นต้นฤดูหนาว ก่อนจะสืบความเป็นไปของโรงเรียนที่สอนศิษย์ให้สนใจใฝ่ธรรม 

การเดินมาที่นี่ใช้เวลาชั่วโมงกว่า ๆ ด้วยระยะประมาณ 100 กิโลเมตร  ก็มาถึง โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

เกียรติคุณของ “โรงเรียนสระยายโสมวิทยา” ที่นี่คือเป็นโรงเรียน 1 ใน 27 โรงเรียนทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 1 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ส่งเสริมการสอนตามแนววิถีพุทธมาร่วม 30 ปี

บุคคลในท้องถิ่นและเป็นครูมาร่วม 40 ปี อย่าง ครูรักดี สามงามน้อย ครูชำนาญการพิเศษ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดูจะเป็นครูที่ย้อนปูมหลังของความสำเร็จในวันนี้ได้ดี

 ดร.ศรายุทธ  รัตนปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนสระยายโสมวิทยา 
“...เราสอนคุณธรรมจริยธรรมเมื่อปี 2530 กว่า ๆ ในปีนั้นเราเริ่มเข้าค่ายพุทธบุตรเป็นค่ายเล็ก ๆ ซึ่งไม่ได้ลงทุน ก็ขอเรียนผู้ปกครองนำไข่คนละ 2 ใบ เราก็ดำเนินการ ขณะนั้น สพฐ. ยังไม่ได้ดำเนินการวิถีพุทธเลย แล้วเราก็ดำเนินจากปีนั้นจนถึงปีนี้ เป็นการเข้าค่ายพุทธธรรมที่ส่งเสริมจริยธรรมของเด็กอย่างยั่งยืน”

นั่นก็แสดงถึงความเอาใจใส่ของครูที่มีต่อศิษย์ ในโรงเรียนจนเมื่อมีเกณฑ์รางวัลต่างเข้ามาก็สามารถนำไปปรับได้อย่างกลมกลืน

“...คิดว่า เรามาจากความยั่งยืนที่เราสะสมมาเรื่อย ๆ เราใช้ระยะเวลาบ่มเพาะเด็กให้เป็นต้นกล้าที่แข็งแรง แล้วก็ให้ร่วมเงากับสังคมได้ แบบต่อเนื่องไม่ทิ้งช่วงจากรุ่นหนึ่ง สู่รุ่นหนึ่ง โดยที่เราไม่เคยละเลยเราดูแลยังใกล้ชิด น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราได้รับรางวัลโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน”

ด้าน ดร.ศรายุทธ  รัตนปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนสระยายโสมวิทยา ฐานะผู้บริหาร มองภาพย้อนอดีตดูยกความดีให้แก่ผู้บริหาร และคณะครูอาจารย์

“โรงเรียนนี้ ถือเป็นเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล ขนาดกลาง สังกัด สพม.เขต 9  เป็นโรงเรียนประจำตำบลอู่ทอง 
...บริบทของโรงเรียนสระยายโสมวิทยา ที่ผ่านมา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในการพัฒนาโรงเรียนส่วนใหญ่แล้วจุดเน้นของโรงเรียนอยู่ที่คุณธรรมจริยธรรม เพราะเท่าที่ผ่านมาโรงเรียนได้ประกวดรางวัล ที่เป็นรางวัลคุณธรรมจริยธรรมโดยเฉพาะเรื่องของพระพุทธศาสนาได้รางวลเสาเสมานะครับ ถึง 4 เสาด้วยกัน โดยได้รับจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของโรงเรียน 
และเท่าที่ผ่านมาผู้บริหารการศึกษาหลาย ๆ ท่านนี่ ได้ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเป็นอย่างดี 
การส่งผลงานเพื่อเสนอชื่อเข้าประกวดโรงเรียนวิถีพุทธ ไม่ยากเพราะที่นี่มีต้นทุนที่ดี ตัวผู้เรียนเอง คุณครูเขาสอนเรื่องคุณคุณธรรมจริยธรรมอยู่แล้วเรื่องของโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งโรงเรียนพัฒนามาแล้วเกือบ 15 ปี" 

โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รางวัลที่ได้มา แม้จะมีทุนเดิมอยู่แล้วแต่การนำหลักบริหารมาจัด ผู้อำนวยโรงเรียนท่านนี้ก็มีส่วน
“โรงเรียนก้าวจากโรงเรียนวิถีพุทธเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ แล้วก็นำเข้าสู่โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก โรงเรียนเราก็เลยส่งเข้าประกวด เราก็มาศึกษาเรื่องของตัวชี้วัด แล้วมาพัฒนาเป็นโมเดล ซึ่งมีรูปแบบของการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยสร้างจากกิจกรรมการเรียนรู้ของคุณครูแล้วก็นักเรียน ออกแบบกิจกรรมแล้วส่งเข้าประเมิน โดยวิธีการคือเราออกแบบเป็นรูปเล่ม แล้วมาพัฒนาเป็นกิจกรรม input / process / output นำเสนอให้กับคณะกรรมการประเมิน ให้คณะกรรมการประเมินวิถีพุทธในรอบแรก...”

หลักไตรสิกชาบูรณาการร่วมเศรษฐกิจพอเพียง

หลักคุณธรรมทางพุทธศาสนาที่นำมาใช้ที่นี่ ก็แนวนโยบายที่เขาบริหารจัดการ
"ผมได้บริหาร จัดการ คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมนี่ พร้อมกับการกระบวนการเรียนรู้ที่ยังไม่มีคุณภาพให้เด็ก ๆ ของเรา ซึ่งเราได้วางแผนดำเนินการ พัฒนาเป็นโมเดล การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนมีทั้งหมด 32 กิจกรรรม 
ส่วนที่ผมได้เติมเต็มขึ้นมาคือ เราได้บูรณาการในหลักของพระองค์ท่านคือ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  บูรณาการกับหลักไตรสิกขาเข้ามาเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างเรื่องของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของไตรสิกขา ศีล  สมาธิ  ปัญญา 
เราบูรณาการ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกัน ผานกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมให้กับนักเรียนของเรา"
หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ  3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน  ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ  ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ส่วน 2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่  เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต  เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต”
ผู้บริหารท่านกล่าวพร้อมย้ำแนวทางการทำงานให้สำเร็จ
“แนวทางในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างให้เป็นโรงเรียนพระราชทานสิ่งสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะอาจจะเกิดจากจุดเล็ก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวบุคคลากรคือคุณครูของเรา ต้องให้ท่านยอมรับให้ได้ว่าการใช้หลักธรรมมะหลักสามห่วง 2 เงื่อนไข หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักไตรสกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ตัวคุณครูเอง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นตัวเอง่าให้เด็ก
ส่วนที่ 2 คือการปลูกฝังให้เด็กนักเรียน พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เริ่มจากจุดเล็ก ๆ พัฒนาขึ้นมา แล้วก็ส่วนที่ 3 คือ แผนการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือวิชาที่สอนควรสอดแทรกเรื่องจริยธรรม คุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพข่าว หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมายกตัวอย่างห้เด็กดูว่า เราจะมีสมาธิมีภูมิคุ้มกันที่ดีอย่างไรในการที่จะดพัฒนาตัวเอง ให้มีทักษะชีวิตที่จะก้าวไกล ก้าวไปสู่ผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้ เพราะฉะนันโณงเรียนวิถีพุทธพยายามจะพัฒนา”
ฝากคุณครูทุกท่านเลยว่าเราควรพัฒนาบุคคล ผู้เรียน และชุมชน โครงการบวรบ้านโครงการบวร บ้านวัดโรงเรียน จะเป็นพื้นฐานของโครงการโรงเรียนโรงเรีบนวิถีพุทธ”

คุณลักษณะนักเรียนเด็กโรงเรียนวิถีพุทธ

...จะอย่างไรก็ตามคุณลักษณะของนักเรียนที่จบการศึกษาจากที่นี่ไปแล้วเป็นอย่างไรย่อม ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมมากกว่า
ครูรักดี สามงามน้อย
ครูฝ่ายปกครอง และสอนภาษาไทยอย่าง ครูรักดี สามงามน้อย มั่นใจกับผลิตผลจากที่นี่
“...นักเรียนโรงเรียนสระยายโสมวิทยา จะเป็นเด็กที่ไม่ก้าวร้าว เป็นเด็กที่รู้จัก รู้คิด รู้ทำ บางเรื่องก็อาจจะประพฤติไปตามกระแสบ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เราปลูกฝังเอาไว้จะทำให้เขาคิดได้  แล้ววันหนึ่งที่สิ่งเราทำอยู่ทุกวันนี้ ที่เราสะสมไว้ที่นี่ กับเด็กที่เราเรียน 3 ปี 6 ปี ที่นี่เขาจะเป็นเด็กที่ไม่เป็นปัญหาสังคม
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นี่จะเกี่ยวข้องกับเด็กค่อนข้างมาก แล้วเด็กที่เราดูแลจะบอกว่าอยู่ภาวะพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจารย์บางท่านส่ายหน้า เราก็จะเอาเขามาดูแลของตัวเองและจะดูแลเขาไปจนจบหลักสูตรก็คือ 3 ปี เช่น เป็นที่ปรึกษาเขา ม. 4 ก็จะดูแล 4-5-6  แต่จะดูห้องที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงแล้วก็จะดูแลเขาด้วยใจ เราเลี้ยงเขาด้วยความเข้าใจ พูดเขาด้วยเหตุและผล ต้องใช้ศิลปะในการดูแลอย่างมากทั้งศิลป์และศาสตร์ ทั้งไม้อ่อนไม้แข็ง ทุกรูปแบบค่ะ 
ท้ายที่สุดก็จะได้หัวใจของเขา
ถือว่าโรงเรียนเราเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่ยั่งยืน เราไม่ได้เป็นคนเดียว เราไม่ได้เป็นทีมเดียว แต่เราเป็นทั้งโรงเรียน”
ทั้งนี้คณาจารย์เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ ด้วยวัฒนธรรมองค์กร “ระบบพี่ ระบบน้อง”
“...ที่นี่มีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งว่าเรามีระบบพี่ ระบบน้อง ครูของเราไม่เคยเป็นกลุ่มก้อน ครูของเราไม่เคยแตกแยกแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เราจะเป็นพลังกลุ่มเดียว แล้ววัฒนธรรมของเราก็คือว่าน้อย ต้องเคารพพี่  ฟังพี่ในการที่จะชี้แนะ ให้คำแนะนำถ้ามีปัญหาอะไรเราคุยกัน เราไม่เคยใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบที่ให้นักเรียนเห็น แล้วนัดเรียนก็ไปปฏิบัติตาม เรามีเหตุทะเลาะวิวาทน้อยมาก ๆ เลย ในโรงเรียนของเรา”
สำหรับผู้บริหารแม้จะเพิ่มรับตำแหน่งได้ปีกว่าก็ภูมิใจกับนักเรียนที่เป็นผลิตผลจากที่นี่
“อัตตลักษณ์ของเด็กที่นี่ คิดว่าเป็นไปตามที่เราพึงปรารถนา โดยเฉพาะเรื่องคุณคุณธรรมจริยธรรมเท่าที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเด็กของเรามีความรับผิดชอบสูงมาก ทุกเช้าจะเห็นว่าเด็กจะมารับผิดชอบโซนพื้นที่ทำความสะอาด เรื่องของการเข้าแถว เคารพธงชาติเรื่องเข้าแถวมีวินัยนี่ถือว่า มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
...อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่จะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ของตัวเองที่ได้จากการเรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะทักษะชีวิต โรงเรียนเราส่งเสริมในด้านนี้มากที่สุด”
คณะของเราเดินทางกลับพร้อม ๆ กับน้อง ๆ นักเรียนเข้าห้องเรียนเสียงครูประจำรายวิชาดังขึ้น เสียงค่อย ๆ เบาลงเมื่อรถเคลื่อนออกจากรั้วโรงเรียน แต่ได้เหลือบเห็นสารความยินดีของท่านพระครูสุวรรณพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดสระยายโสม ในวารสารใต้ร่มราชพฤกษ์ วารสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนฯ
“…ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการเอาชนะความชั่วด้วยความดี ชนะความโลภด้วยการให้ ชนะความเกลียดด้วยความรักชนะความคดโกงด้วยความเที่ยงตรง ...ผู้ที่สำเร็จดังกล่าวจะพบความสุขที่ถาวร”
และที่ยังตรึงใจไม่รู้ลืม ณ แสงธรรมแห่งที่ราบลุ่มสุพรรณ.